วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556




พิพิธภัณฑ์จังหวัดนนทบุรี (Museum of Nonthaburi)

            เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็ก ตั้งอยู่ในอาคารศาลากลางจังหวัดนนทบุรีหลังเก่าริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ในสังกัดดูแลของเทศบาลเมืองนนทบุรี แสดงประวัติความเป็นมาในอดีตของจังหวัดนนทบุรี รวมถึงผลงานภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองนนทบุรีซึ่งสืบทอดเป็นวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าในปัจจุบัน


พ.ศ. 2454-2468

โรงเรียนราชวิทยาลัย king’s collage ของเมืองไทย
           โรงเรียนราชวิทยาลัย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 ณ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ธนบุรี ด้ยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัที่จะให้เมืองไทยมีโรงเรียนชั้นดีแบบ King’s collage ของประเทศอังกฤษ ต่อมาเมื่อกระทรงยุติธรรมก่อสร้างอาคารหลังนี้เพื่อเป็นโรงเรียนฏฎหมาย แต่ยังไม่มีครูและนักเรียน จึงขอโอนโรงเรียนราชวิทยาลัยมาอยู่ในปกครองและย้ายมาตั้งอยู่ที่นี่เมื่อ พ.ศ. 2454 โดยจัดให้เป็นโรงเรียนประจำแบบ Public school ของอังกฤษ อาคารเรียนสมัยนั้นมี 3 หลัง สร้างเป็นรูปตัว L ชั้นล่างเป็นห้องเรียนหลังละ 4 ห้อง และห้องปิงปอง 1 ห้อง ชั้นบนเป็นบ้านพักนักเรียน มีห้องนอนหลังละ 5 ห้อง และห้องเสื้อผ้าอยู่ตรงมุม (อาคารเรียนหลังที่ 4 ไม่ได้สร้างเพราะนักเรียนยังน้อย) นอกจากนี้มีอาคารสำนักงานอยู่ตรงกลางด้านหน้า และมีหอประชุมอยู่ด้านหลังเรียกว่า Dining Hall

            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับโรงเรียนราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป์ เมื่อ พ.ศ. 2459 แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวคตในพ.ศ. 2468  โรงเรียนก็ต้องปิดลงด้วยภาวะ เศรษฐกิจตกต่ำ จากนั้นได้โอนย้ายนักเรียนไปรมกับโรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่กรุงเทพ และได้รับพระราชทานนามใหม่จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า “วชิราวุธวิทยาลัย”

พ.ศ. 2471-2535
ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี ศูนย์กลางแห่งเมืองนนท์
           
            ศาลากลางหลังแรกของนนทบุรีตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ณ บ้านตลาดขวัญ ต่อมา เมื่อโรงเรียนราชวิทยาลัยเลิกกิจการไป พระบามสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯให้ย้านศาลากลางจังหวัดนนทบุรีมาอยู่ ณ อาคารโรงเรียนราชวิทยาลัยแห่งนี้ เมื่อ พ.ศ. 2481 โดยแบ่งเป็นที่ตั้งส่วนราชกาลต่างๆ ได้แก่ ศาลากลางจังหวัด ศาลจังหวัด คลังจังหวัด ที่ว่าการอำเภอเมืองนนทบุรี สถานีอนามัย สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานเทศบาล เมืองนนทบุรี และบ้านพักข้าราชการ ส่นหอประชุมด้านหลังเป็นที่ตั้งโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดนนทบุรี (โรงเรียนสตีนนทบุรี) ระหว่าง พ.ศ. 2476 – 2498 หลังจากนั้นใช้เป็นหอประชุมสถาจังหวัด
            ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ ถูกโจมตีอย่างหนัก โรงพยาบาลศิริราชได้อพยพคนไข้มาอยู่ที่สนามของศาลากลางจังหวัดนนทบุรีเมื่อ พ.ศ. 2486-2487 โดยสร้างอาคารชั่วคราวขึ้นเต็มสนาม ในครั้งนั้นกรมชลประทานก็ได้ย้ายมาอยู่ที่นี่เช่นกัน จากนั้นเมื่อ พ.ศ. 2501 มีการจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลนนทบุรีขึ้นที่นี่โดยใช้พื้นที่ชั้นล่างของหอประชุมจังหวัดเป็นห้องเรียน ซึ่งภายหลังได้สร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมหลายอาคาร
            ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี ย้ายไปอยู่ที่ศูนย์ราชการใหม่ ณ ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบล บางกระสอ เมื่อ พ.ศ. 2535 รวมเวลาที่ตั้งอยู่ ณ อาคารหลังนี้ยางนานถึง 64 ปีซึ่งได้ทำให้พื้นที่บริเวณนี้มีคามเจริญรุ่งเรืองขึ้นจนเป็นศูนย์กลางของเมืองนนทบุรีสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2535-2551
วิทยาลัยมหาดไทย แหล่งพัฒนานักปกครองของประเทศ
            พ.ศ. 2535 หลังจากที่ศาลากลางจังหวัดนนทบุรีและส่วนราชการอื่นๆ ย้ายไปอยู่ที่ศูนย์ราชการใหม่แล้ว กระทรวงมหาดไทยได้ใช้อาคารศาลากลางจังหวัดหลังเก่านี้เป็นที่ตั้งวิทยาลัยมหาดไทย ในสังกัดสถาบันดำรงราชานุภาพ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปีเดียวกันนั้นเพื่อเป็นหน่วยงานพัฒนาบุคลากรระดับสูง โดยวิทยาลัยมหาดไทยมีหน้าที่จัดการฝึกอบรมให้แก่ข้าราชการระดับต่างๆของกระทรวงมหาดไทย แบ่งเป็นโรงเรียนนักปกครองระดับสูง โรงเรียนผู้บริหารระดับกลาง โรงเรียนข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และหน่ยงานฝึกกอบรมพิเศษ ในระหว่างนั้น บางส่วนของอาคารยังใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนอนุบาลนนทุรี สำนักงานเทศกิจและสถานีอนามัยเทศบาลนครนนทบุรี วิทยาลัยมหาดไทยเปิดดำเนินการอยู่ ณ อาคารห่งนี้ เป็นเวลา 16 ปี จึงย้ายไปอยู่ที่ทำการใหม่ที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เมื่อ พ.ศ. 2551




พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
พิพิธภัณฑ์จังหวัดนนทบุรี แหล้งเรียนรู้เพื่อสืบสานจิตวิญญาณแห่งเมืองนนท์
           
            นับจาก พ.ศ. 2552 อาคารหลังนี้จะได้รับการอนุรักษ์ และปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์จังหวัดนนทบุรี เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของนนทบุรีอย่างครบถ้วน เพื่อสร้างความรู้ ความภาคถูมิใจและความรักท้องถื่นให้แก่ชาวนนทบุรี โดยพิพิธภัณฑ์นี้เป็นแหล่งรวบรวม เก็บรักษา และจัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าของชาวนนทบุรี เพื่อการเรียนรู้ สืบทอด และอนุรักษ์ไว้ไม่ให้สูญหายไป โดยใช้พื้นที่ปีกด้านขวามือที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ชั้นที่ 1 และ 2 เป็นพื้นที่ติดตั้ง "นิทรรศการถาวร"
           

  ภายในอาคารจัดแสดงเรื่องราวที่น่าสนใจทางประวัติศาสตร์ ย้อนรอยอดีตเล่าเรื่องวันวานของจังหวัดนนทบุรี แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตและภูมิปัญญาชาวบ้าน รวมถึงงานวิจิตรศิลป์ชั้นเยี่ยม ประติมากรรมดินเผา และชมภาพอดีตในยุคทองของการค้าเครื่องปั้นดินเผาที่เกาะเกร็ดซึ่งกลับคืน ชีวิตด้วยเทคนิคพิเศษ



เวลาทำการ พิพิธภัณฑ์จังหวัดนนทบุรี เปิดทำการวันอังคาร - ศุกร์ เวลา 9.00 น. - 17.00 น. เสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 น. - 18.00 น. ปิดบริการวันจันทร์ ไม่เสียค่าเข้าชม
การเดินทาง
ทางบก รถประจำทางสาย32, 63, 97, 114, 175, 203 , 543 และ 545
ทางน้ำ  เรือด่วนเจ้าพระยา จากท่าช้างสุดทางท่าน้ำนนท์


แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 8 ห้อง ได้แก่
ห้องที่ 1 โถงต้อนรับ      
            เป็นส่วนของการลงทะเบียน ชมวิดีทัศน์แนะนำพิพิธภัณฑ์ เรียนรู้จังหวัดนนทบุรี รวมถึงคำขวัญ สัญลักษณ์ และต้นไม้ประจำจังหวัดนนทบุรี
ห้องที่  ศาลากลางจังหวัดนนทบุรีหลังเก่า
            มองภาพรวมของอาคารจากหุ่นจำลอง ก่อนศึกษาองค์ประกอบสถาปัตยกรรม  แล้วแกะรอยความเปลี่ยนแปลงในช่วงร้อยปีที่ผ่านมาจากภาพถ่ายเก่าหายาก จุดเด่นสำหรับห้องนี้คือการนำเรือพายที่ปัจจุบันอาจจะเลิกใช้ไปแล้ว มาเก็นไว้ในห้องจัดแสดงนี้ด้วย

ห้องที่  ภาพอดีตนนทบุรี
            เมืองสวนผลไม้แห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาย้อนอดีตผืนดินนนทบุรีนับแต่กำเนิดขึ้นจากแม่น้ำ จนกระทั่งกลายเป็นเมืองสวนผลไม้ลือชื่อ ชมฉากจำลองสวนผลไม้เมืองนนท์ในอดีต ดูวิธีการทำสวนที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร
ห้องที่  วิจิตรศิลป์ถิ่นนนท์  
            เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดนนทบุรี ภาพจิตรกรรมฝาผนังชิ้นเยี่ยม และงานวิจิตรศิลป์ชั้นยอดของนนทบุรี  แล้วรู้จักกับบุคคลสำคัญชาวนนทบุรีที่มีผลงานดีเด่นระดับชาติ      
ห้องที่  เครื่องปั้นดินเผา
            ชมประติมากรรมดินเผาขนาดใหญ่รูปตราประจำจังหวัดนนทบุรี  สืบหาต้นกำเนิดและแกะรอยการเดินทางของ หม้อน้ำลายวิจิตร สัญลักษณ์ประจำจังหวัด ซึ่งมีที่มาจากแดนไกล
ห้องที่  เครื่องปั้นดินเผาบ้านเกาะเกร็ดและบ้านบางตะนาวศรี
            ชมความงามของหม้อน้ำลายวิจิตรแบบต่างๆ และศึกษารูปแบบอันหลากหลายของเครื่องปั้นดินเผานนทบุรีในอดีตจากแหล่งผลิต ใหญ่ ๒ แห่ง ซึ่งเคยผลิตสินค้าส่งขายทั่วประเทศ
ห้องที่  ภูมิปัญญาการผลิตเครื่องปั้นดินเผาจังหวัดนนทบุรี
            ชมหุ่นดินเผาแสดงขั้นตอนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาตามวิธีการดั้งเดิมของบ้าน เกาะเกร็ดที่ไม่มีให้เห็นแล้ว และติดตามพัฒนาการที่เกิดขึ้นจนถึงปัจจุบัน
ห้องที่  การค้าเครื่องปั้นดินเผานนทบุรีในอดีต
             ชมภาพอดีตในยุคทองของการค้าเครื่องปั้นดินเผาที่เกาะเกร็ดซึ่งกลับคืนชีวิต ขึ้นใหม่ด้วยเทคนิคพิเศษ และตามรอยวิถีการค้าของพ่อค้าเรือโอ่ง
         
     ศาลากลางกลางจังหวัดเก่าของเมืองนนท์ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกของชาติก่อนย้ายจากริมน้ำมาถนนรัตนาธิเบศร์เมื่อราวปี 2535 แต่อดีตเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ตัวอาคารไม้งามสง่าแห่งนี้ คือตัวอาคารเรียนของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน 5 ที่พัฒนามาจากโรงเรียนมหาดเล็กหลวงในพระบรมมหาราชวัง ก่อนหน้านั้นอีกที จากโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ก็มาเป็นคณะรัฐประศาสนศาสน์ คณะแรกอันเป็นจุดกำเนิดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2460 ในสมัยรัชการที่ 6 17 ปีต่อมา คณะรัฐประศาสนศาสน์ที่ว่า ก็ถูกยุบและเอาทั้งคนสอนทั้งนักเรียนมาเปิดเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
            ศาลากลางจังหวัดนนทบุรีหลังเก่า สร้างขึ้นโดยกระทรวงยุติธรรม เมื่อปี พ.ศ.2453 โดยแบ่งพื้นที่มาจากที่ดินที่จัดซื้อไว้สำหรับเตรียมสร้างเรือนจำมหันตโทษ (เรือนจำกลางบางขวาง) เดิมมีจุดประสงค์ให้เป็นโรงเรียนกฎหมาย แต่เนื่องจากขาดบุคลากรจึงได้ใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนราชวิทยาลัย (King 's College) แทน ตัวอาคารใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 559868.69 บาท สร้างเสร็จและเปิดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ.2454 ต่อมาภายหลังโรงเรียนราชวิทยาลัยเลิกกิจการไป อาคารนี้จึงถูกใช้เป็นศาลากลางจังหวัดนนทบุรีระหว่าง พ.ศ.2471 - พ.ศ.2535 หลังจากนั้นใช้เป็นที่ตั้งวิทยาลัยมหาดไทยจนถึง พ.ศ.2551 ดังที่กล่าวมาข้างต้น
          

          ลักษณะของอาคารเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกที่ประยุกต์ให้เข้ากับภูมิอากาศเขตร้อน หันหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในสมัยก่อน ตัวอาคารมีเนื้อที่รวม 2 ไร่ 2 งาน 51 ตารางวา เป็นอาคาร 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน มี 7 หลัง วางผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมรอบลานกว้าง (Quadrangle) เชื่อมต่อกันด้วยระเบียงทางเดินทำด้วยไม้ซึ่งสร้างยื่นออกมารอบอาคารหลังคาของอาคารเป็นทรงปั้นหยามุงกระเบื้องยกหลังคาให้สูง เพื่อให้พื้นที่ใต้หลังคาทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน ด้วยการหน่วงเหนี่ยวไม่ให้มันปะทะกับส่วนใช้สอยด้านล่างในทันทีและมีช่องระบายอากาศจาก แผงเกล็ดหน้าจั่ว หรือระแนงใต้ชายคา "ลม" ก็จะช่วยพัดความร้อนออกไปจากส่วนใต้หลังคานั้น เป็นอาคารหลังหนึ่งที่มีความงดงามของการออกแบบและการก่อสร้างแบบเก่าที่มีเอกลักษณ์ไทยและดูสง่างาม ฝีมืองานไม้มีความประณีตมาก ราวระเบียงทำเป็นลวดลายโปร่ง รับกับบานเกร็ดไม้ ช่วงบนที่เป็นกันสาดกันแดดและฝน ทางขึ้นลงของอาคารมีหลายแห่ง โดยจะทำเป็นมุขยื่นออกมาและล้อมบันไดเอาไว้ ทางเดินทั้งหมดทำด้วยแผ่นไม้ โดยชั้นล่างสุดยกพื้นสูงจากพื้นดินการยกพื้นสูง เจาะช่องเป็นห้องใต้ดิน ทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ช่วยไล่ความชื้นที่อาจเกิดขึ้นจากที่ตั้งซึ่งอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา แม้ ระดับน้ำที่เพิ่มสูงทำให้บางครั้งห้องใต้ดินเจิ่งนองไปด้วยน้ำ หากโครงสร้างภายในที่เป็นไม้ซุงและไม้สักทอง ยังเป็นรากฐานที่มั่นคงของอาคารด้วยคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ กรมศิลปากรจึงขึ้นทะเบียนอาคารหลังนี้เป็นโบราณสถานเมื่อ ปี พ.ศ.2524 และยังได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชนูปถัมภ์ในปีพ.ศ.2543อีกด้วย
           
อาคารหลังนี้แม้ได้รับการจดทะเบียนเป็นอาคารอนุรักษ์จากกรมศิลปากรเมื่อปี พ.ศ.2524 ก็ตาม แต่ด้วยสภาพปัจจุบัน มีการเสื่อมโทรมอย่างมาก และไม่มีทีท่าเลยว่าจะมีการบูรณะหรือจัดการอะไรกับเจ้าอาคารหลังนี้
            จังหวัดนนทบุรี เป็นพื้นที่น้ำท่วมถึง จึงเกิดความกังวลเรื่องของความชื้นที่กระทำต่อตัวอาคาร ประเด็นความชื้นที่อาจกระทบกับตัวอาคารคงไม่ส่งผลต่อตัวอาคารมากนัก  แต่ความกร่อนด้วยอายุคงเป็นไปได้ เพราะที่นี่เป็นไม้สักทอง ไม่ผุ ปลวกไม่กิน เหมือนกับเรือที่ล่องในลำคลองซึ่งก็ทำจากไม้สัก ฐานรากเองก็ไม่ได้ตอกเสา เข็มเหมือนปัจจุบัน ใช้ไม้ซุงและไม้สักอัดเป็นท่อนๆลงไป ภาวะน้ำที่มากก็อาจทำให้ไม้ซุงมีการเคลื่อนตัว ซึ่งอาจมีผลต่ออาคารบ้าง
            อย่างไรก็ตาม เป็นเวลา 102 ปีแล้ว บนเนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน อาคารเรือนไม้ 7 หลังตามผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าติดท่าน้ำนนทบุรี ยังคงทำหน้าที่สะท้อนเรื่องราวประวัติศาสตร์ รวมถึงบอกเล่าวิถีชาวเมืองนนทบุรีครั้งอดีตผ่านอาคารพิพิธภัณฑ์  โดยมีแผน การระยะยาวที่จะพัฒนาอาคารทั้ง 7 หลังให้เป็นศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ เผยแพร่ข้อมูลท้องถิ่นให้คนภายนอกได้รู้จัก และให้คนเมืองนนท์เข้าใจความหมายและที่มาของนนทบุรีมากยิ่งขึ้น
           

             อาคารไม้หลังเก่าสถาปัตยกรรมตะวันตก ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้ท่าน้ำนนทบุรี เป็นสถานที่บริหารราชการแผ่นดินให้กับชาวเมืองนนท์มาหลายยุคหลายสมัย ปัจจุบันยังคงหลอมรวมความหลากหลายของเมืองนนทบุรี บอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิต วัฒนธรรม เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้คนรุ่นหลังศึกษาในชื่อว่า "พิพิธภัณฑ์จังหวัดนนทบุรี" 
             ศิริพร ผลชีวี  ผู้ดูแลออกแบบจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ เล่าว่า เดิมอาคารไม้หลังเก่าสวยงามแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นโรงเรียนกฎหมาย ของกระทรวงยุติธรรมเมื่อปี 2453 แต่ขาดแคลนบุคลากร จึงตั้งเป็นโรงเรียนราชวิทยาลัย เปิดสอนในปีพ.ศ.2454
            ปัจจุบันสภาพเมืองนนทบุรีเปลี่ยนแปลงไปมาก จากสภาพพื้นที่ที่เป็นสวนผลไม้กลายเป็นบ้านจัดสรร แต่นนทบุรียังมีของดีหลายอย่าง เช่น เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด หุ่นละครเล็ก หุ่นกระบอก มะปรางท่าอิฐ กระท้อนบางกร่าง และยังเป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ นิทรรศการจะบอกเล่าเรื่องราวของชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่รวมกัน ตั้งแต่คนท้องถิ่นและชาวมอญ ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ชาวมุสลิม และคนจีนที่อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน 





        ศาลากลางเก่าจังหวัดนนทบุรีที่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงมาเป็นพิพิธภัณฑ์จังหวัดนนทบุรี แห่งนี้ มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม ในเรื่องของการออกแบบที่สวยงาม ปรับสไตล์ของเรือนไม้ตะวันตกให้เข้ากับสถาพภูมิอากาศในบ้านเราได้เป็นอย่างดี เช่น การยกหลังคาสูงเพื่อระบายความร้อน การติดแผงกันสาดกันแดด ลม ฝน และความประณีตบรรจงในการก่อสร้างของช่างในสมัยก่อน 





          คุณค่าทางสถาปัตยกรรม
สะท้อนผ่านการเวลาที่ล่วงเลยมาแต่ละยุคสมัยตั้งแต่รัชกาลที่ 6 มาจนถึงปัจจุบันที่เต็มไปประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ การใช้พื้นที่ที่ออกแบบไว้แต่เดิม มาประยุกต์ให้เข้ากับฟังก์ชั่นการใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไปทั้ง 4 ที่ แต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ และคงความแข็งแรงมากว่า 120 ปี

           คุณค่าด้านสังคม
สถาปัตยกรรมแห่งนี้ มีคุณค่าทางด้านสังคม ในครั้งเป็นราชวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็นสถานศึกษาหาความรู้แก่นักเรียน เมื่อเปลี่ยนมาเป็นศาลากลางก็เป็นที่ว่าราชการต่างๆของจังหวัด ในปัจจุบัน เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไปได้เข้ามาศึกษาความเป็นมาเป็นไปในจังหวัดนนทบุรีว่ามีคุณค่าอะไรที่ควรอนุรักษ์และสืบสาน การก่อสร้างอาคารหลังนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของการเจริญเติบโตของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ละยุคสมัยด้วย
 แม้ในตอนนี้ อาคารหลังนี้จะทรุดโทรมไปมาก อาจเป็นเพราะยังขาดการดูแลจากทางภาครัฐและจากสภาพสังคมที่ยังพัฒนาไปได้ไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น หรือเหตุผลใดๆก็ตามแต่ อาคารไม้เรือนเก่าหลังนี้ก็สะดุดตาของผู้ที่เดินทางผ่านและยังคงดูสง่างามในตัวของมัน